ใบงาน เรื่องสรุปคำสั่งHTML(2)

รุคำสั่HTML(2)

<TABLE>

สำหรับแท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้มากที่สุด และสำคัญที่สุดในการสร้างโฮมเพจของเรา สำหรับการสร้างตาราง โดยจะต้องใช้ควบคู่กับแท็ก <TR> และ <TD> เสมอในการสร้างตาราง โดยมีรูปแบบการใช้งาน ดังนี้

<TABLE> -------------------------------------------------------> คำสั่งเปิดตาราง

<TR> ------------------------------------------------------------> หมายถึง แถว

<TD> ข้อความ </TD> <TD> ข้อความ </TD> -----------------------> หมายถึง คอลัมภ์

</TR> ----------------------------------------------> จบแถว

</TABLE> ----------------------------------------> คำสั่งจบตาราง



จะเห็นว่าคำสั่ง <TR> นั้นคือ คำสั่งแถว และ คำสั่ง <TD> คือคำสั่ง คอลัมภ์ และคำสั่งคอลัมภ์นั้นจะเห็นว่าอยู่ภายใต้คำสั่ง <TR> ซึ่งก็คือ เมื่อใดที่ตารางมีแถว ก็ต้องมีคอลัมภ์อยู่ในแถว และในคอลัมภ์นั่นเองที่เป็นที่ใส่ข้อมูลต่างๆ จากด้านบนจะเห็นว่า คำสั่งนี้จะมี 1 ตาราง 1 แถว 2 คอลัมภ์ ส่วนการกำหนดรายละเอียดนั้น มีดังต่อไปนี้
1. WIDTH แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดความกว้างของตาราง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ <TABLE WIDTH= “200” > หรือ<TABLE WIDTH= “20%” > เป็นต้น
2. HEIGHT แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดความสูงของตาราง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ <TABLE HEIGHT = “200” > หรือ<TABLE HEIGHT = “20%” > เป็นต้น
3. ALIGN แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดลักษณะการวางตารางบนหน้าจอ โดยจะมีค่าที่ใช้คือ LEFT, RIGHT, CENTER เช่น <TABLE ALIGN = “CENTER” > เป็นต้น
4. BORDER แท็กนี้ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับกำหนดขนาดความหนาของกรอบตาราง โดยจะมีการกำหนดค่าเป็นหน่วยของ Pixel หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) มีรูปแบบการใช้งาน คือ <TABLE BORDER = “0” >(เมื่อไม่ต้องการมีกรอบ), หรือ <TABLE BORDER = “2” > เป็นต้น



<A HREF>

สำหรับแท็กนี้ใช้สำหรับกำหนดจุดที่ใช้สำหรับการลิงค์เชื่อมโยงจากไฟล์หนึ่งไปยังอีกไฟล์หนึ่ง มีรูปแบบการใช้งาน คือ
< AHREF= “ปลายทางที่จะเชื่อมโยง” > ข้อความ </A>
< AHREF= “http://www.sanook.com” > ไปเว็บสนุก.คอม ครับ </A>

จริงๆแล้วมีคำสั่งมากกว่านี้ครับแต่ไม่สำคัญเท่านี้ ซึ่งในที่นี่ผมขออธิบายแต่คำสั่งที่จะต้องมีการนำไปใช้ประโยชน์จริงและสำคัญๆ เท่านั้น ซึ่งแค่ที่ได้อธิบายมาข้างบนนี้ถ้าจำได้ก็เซียนละครับ...อิอิ
โครงสร้างของเว็บไซด์นั้นโดยหลักๆแล้วจะทำในรูปของตาราง ซึ่งทำได้โดยการใช้ตารางเป็นโครงสร้าง


<FONT>


สำหรับแท็กนี้ ก็จะเกี่ยวกับการแสดงผลของตัวอักษร เช่น ขนาด, สี, Font ของตัวอักษร เป็นต้น
1. SIZE ใช้กำหนดขนาดของ Font ให้มีขนาดต่างๆกัน โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 1-7 ซึ่งขนาด
ที่ 1 จะมีขนาดเล็กที่สุดหรือเท่ากับ 8 pt และ ขนาด 7 จะมีขนาดใหญ่ที่สุดหรือเท่ากับ 36 pt
2. COLOR ใช้กำหนดสีของ Font ให้มีสีสันต่างๆ กัน โดยที่คุณสามารถใส่เป็นรหัสสีหรือชื่อก็ได้ เช่น <FONT COLOR= “#000000” > หรือ <FONT COLOR= “Black” > เป็นต้น
3. FACE ใช้กำหนด Font ที่จะให้ Browser แสดงผลด้วย Font ที่กำหนด เช่น <FONT FACE= “Angsana UPC” > เป็นต้น

อ้างอิง








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเขียนผังงาน

ใบงานที่ 3 การถ่ายทอดความคิดในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

ตัวอย่างการใช้ DSS